價格:免費
更新日期:2018-10-04
檔案大小:7.2M
目前版本:2.1
版本需求:Android 4.0 以上版本
官方網站:mailto:birdcpeneu@gmail.com
Email:http://birddev.me/privacy.html
แอพนี้จำลองเสียงไก่ป่าขัน (ไก่ต่อ ไก่ป่า) เอาไว้สำหรับฟังเพื่อผ่อนคลาย หรือเอาไปทำประโยชน์อย่างอื่นตามใจชอบ
การต่อไก่ คือการนำเอาไก่ป่าลูกผสมที่ผ่านการฝึกแล้วไปต่อ หรือล่อไก่ป่ามาติดบ่วงกับดัก หรือที่เรียกกันว่า ครืน ครึน และ บ่วงแร้ว เป็นต้น
ไก่ป่า หรือ ไก่เถื่อน (อังกฤษ: Red junglefowl; ชื่อวิทยาศาสตร์: Gallus gallus) อยู่ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (Phasianidae) จัดเป็นนกมีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ขนาดลำตัว 46-73 เซนติเมตร พบการกระจายอยู่ในเขตศูนย์สูตรโดยมีการกระจายตั้งแต่ประเทศอินเดียจนถึงเวียดนาม และประเทศจีนตอนใต้ จนไปถึงเกาะต่าง ๆ ในประเทศอินโดนีเซีย จัดเป็นไก่สายพันธุ์ดั้งเดิมและเป็นต้นตระกูลของไก่บ้านที่เลี้ยงกันเป็นสัตว์เศรษฐกิจในปัจจุบันนี้ สามารถแบ่งออกได้แบ่งชนิดย่อยได้ 6 ชนิด
Gallus gallus gallus -พบที่อินโดนีเซีย
Gallus gallus bankiva -พบที่ชวา
Gallus gallus jabouillei -พบที่เวียดนาม
Gallus gallus murghi -พบที่อินเดีย
Gallus gallus spadiceus -พบที่พม่า
Gallus gallus domesticus -ไก่บ้าน
อาศัยตามป่าไผ่ ป่าดิบแล้ง และป่ารอยต่อระหว่างป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง หากินเป็นกลุ่มเล็ก ๆ อยู่ตามพื้นป่า ตัวผู้ไม่ชอบร้องเหมือนตัวเมีย ในฝูงหนึ่งจะมีตัวผู้คุมตัวเมียหลายตัว ตัวผู้มักขันเป็นระยะ ๆ โดยเฉพาะในช่วงตอนเช้าและพลบค่ำ หากินเวลากลางวัน ตามพื้นดิน บินได้ไม่ไกลและไม่สูงมาก
ไก่ป่าผสมพันธุ์ในฤดูร้อน สร้างรังอยู่ตามพื้นดินตามกอหญ้า กอไผ่ วางไข่ 6 - 12 ฟอง ระยะฟักไข่ 21 วัน ลูกไก่แรกเกิดมีขนอุยสีเหลืองสลับลายดำทั่วลำตัว เมื่อขนแห้งก็เดินตามแม่ไปหากินได้ทันที โดยทั่วไปไก่ป่าเพศผู้จะเริ่มสืบพันธุ์ได้เมื่ออายุ 2 ปี แต่ในเพศเมียจะสืบพันธุ์ได้ตั้งแต่อายุ 1 ปี โดยมีช่วงการผสมพันธุ์ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนพฤษภาคม ในช่วงนี้ไก่ป่าเพศผู้จะมีสีสันสวยงามมาก
สำหรับในประเทศไทยแล้วพบไก่ป่า 2 ชนิดย่อย คือ
1. ไก่ป่าตุ้มหูขาว (Gallus gallus gallus) มีการกระจายพันธุ์อยู่ทางภาคตะวันออกของไทย, เวียดนาม, ลาว, กัมพูชา
2. ไก่ป่าตุ้มหูแดง (Gallus gallus spadiceus) พบการกระจายพันธุ์ในพม่า, มณฑลยูนาน ในประเทศจีน ในประเทศไทย ยกเว้นทางภาคตะวันออก, ลาวบางส่วน, มาเลเซีย และทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา
ทั้งสองชนิดย่อยมีข้อแตกต่างตรงที่ไก่ป่าตุ้มหูขาวนั้นจะมีลักษณะของขนบริเวณคอยาว และเนื้อบริเวณติ่งหูมีขนาดใหญ่มีแต้มสีขาว ส่วนในไก่ป่าตุ้มหูแดงนั้นลักษณะของขนคอจะยาวปานกลาง เนื้อบริเวณตุ้มหูมีขนาดเล็กและมักจะมีสีแดงซึ่งตามหลักฐานทางชีวโมเลกุล แล้วพบว่าไก่ป่าตุ้มหูขาวนั้นเป็นบรรพบุรุษของไก่บ้านทั้งหลาย
ปัจจุบัน ไก่ป่าจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535